บทนำ
คำว่า “Lean” ถูกกล่าวขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990 จากในหนังสือภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า “The machine that changed the world” โดยทีมวิจัยและพัฒนาจาก MIT นำโดย James P. Womack (ผู้ก่อตั้ง Lean Enterprise Institute)ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเกิดจากการศึกษา, วิเคราะห์ และเปรียบเทียบโรงงานประกอบรถยนต์ของญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และยุโรปว่าทำไมญี่ปุ่นจึงประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผลิตรถยนต์ มากกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ความเป็นมาของแนวคิดต่างๆ
ระบบการผลิตแบบลีน และการจัดการ Lean Manufacturing System and Management นั้นเป็นระบบที่มองเรื่องของการกำจัดความสูญเปล่า หรือกิจกรรมที่ไม่เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และบริการ (Non Value Added Activity) โดยเฉพาะความสูญเปล่า 7 + 1 ประการ (7+1 Wastes)
ซึ่งการจะกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นนั้นระบบลีนจะใช้เครื่องมือ (Lean Tools) เข้าช่วยสนับสนุนเพื่อให้องค์กรบรรลุสู่ True North concept ของลีนซึ่งเป็นในทางอุดมคติ (Ideal State) คือ On demand immediate, One by one (Zero changeover), Zero Defect, Zero Waste and Lowest cost, Zero Accident
ในการดำเนินกิจกรรมการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในเวลาที่ลูกค้าต้องการนั้น จำเป็นที่จะต้องควบคุมเวลานำ (Lead time) ในกระบวนการผลิตให้อยู่ภายในเวลาที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวม (Big Picture) ของกระบวนการ การเชื่อมโยงการไหลของข้อมูล และวัตถุดิบ แหล่งกำเนิดของความสูญเปล่า (Source of Waste) ซึ่งทำให้เห็นช่องทางในการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น และยังเป็นขั้นตอนต้นๆ สำหรับการดำเนินการระบบลีนอีกด้วย
Value Stream Mapping เป็นเครื่องมือและเทคนิคที่สนับสนุนการพัฒนากลยุทธ์การผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing Strategy) ด้วยการแสดงลำดับขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า โดยแนวคิด การสร้างสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping จะทำให้สามารถเข้าใจภาพรวมของกระบวนการ (Overall Process) จากมุมมองลูกค้าโดยมุ่งแนวทางปรับปรุงการไหลของทรัพยากรและสารสนเทศ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานซึ่งทำให้สามารถระบุกิจกรรมไคเซ็นที่จำเป็นสำหรับการขจัดความสูญเปล่า ดังนั้น การสร้างสายธารแห่งคุณค่า VSM จึงเป็น แนวทางที่ใช้จำแนกกิจกรรมที่สร้างคุณค่าเพิ่มและกิจกรรมที่เกิดความสูญเปล่าโดยนำข้อมูลผลลัพธ์จากการวิเคราะห์สถานะปัจจุบัน (Current State) ที่ถูกแสดงด้วยเอกสารสำหรับกำหนดสถานะในอนาคต (Future State) หลังจากการปรับปรุง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาเข้าใจความหมาย และประโยชน์ของการสร้างสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping (VSM)
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาได้เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเขียน การสร้างสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping (VSM)
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสัมมนาสามารถเขียน VSM Current และ Future State ได้อย่างถูกต้อง
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม 1 วัน 09.00-16.30
หัวข้ออบรม
บทนำ
– แนวคิดและขั้นตอนสำหรับการผลิตแบบลีน
– Value Stream คืออะไร? และ ความหมายของคุณค่า (Value)
– ทำไมต้องทำ Value Stream Mapping
– วิธีการวัด Lean Time
– Upstreamและ Downstream
การสร้างสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping ( VSM )
– 8 ขั้นตอนในการวาดแผนสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping
1. เลือกสายธารคุณค่าเพื่อปรับปรุง
2. วาดรูปขั้นตอนของกระบวนการ และ สัญลักษณ์ต่างๆ
3. รวบรวมข้อมูลของกระบวนการและใส่ลงไปในกล่องกระบวนการ
4. วาดรูปคลังวัตถุดิบและคลังสินค้าสำเร็จรูป
5. คำนวณเวลารอคอย
6. ลงไปในสายการผลิตและนับสินค้าคงคลังระหว่างผลิต (WIP)
7. คำนวณเวลารอคอยอันเนื่องมาจาก WIP
8. คำนวณค่า Velocity Ratio
– การเขียน Value Stream Mapping Current State
– Manufacturing Lead Time (MCT)
– การเขียน Value Stream Mapping Future State
– Q&A
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Work 70%
– กิจกรรมกลุ่มวาด Value Stream Mapping